หน้าแรก

ita64-2

ข่าวสาร

รายงานผลการดำเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๗

เหตุการณ์ความเสี่ยงด้านการทุจริตและประพฤติมิชอบเกิดแล้วจะมีผลกระทบทางลบ ซึ่งปัญหามาจาก สาเหตุต่าง ๆ ที่ค้นหาต้นตอที่แท้จริงได้ยาก ความเสี่ยงจึงจำเป็นต้องคิดล่วงหน้าเสมอ การป้องกันการทุจริต และประพฤติมิชอบ คือ การแก้ไขปัญหาการทุจริตและประพฤติมิชอบที่ยั่งยืน ซึ่งเป็นหน้าที่ความรับผิดชอบ ของหน่วยงานและเป็นเจตจำนง ของทุกองค์กรที่ร่วมต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย จึงได้จัดทำเอกสารการประเมินความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติ มิชอบและการดาเนินการเพื่อจัดการความเสี่ยงการทุจริตและประพฤติมิชอบ เพื่อเป็นมาตรการป้องกัน การทุจริตเชิงรุกที่มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อไป

ข้อมูลต่อต้านคอรัปชั่น

รายงานผลการเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามภารกิจของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย โดยสถาบันกรรมฐานศึกษา สมเด็จพระสังฆราช (อมฺพรมหาเถร)

มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้เปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วมในการดำเนินการตามภารกิจของมหาวิทยาลัยกับทุกภาคส่วน ส่งเสริมให้มีการจัดโครงการหรือกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาการดำเนินการโดยสถาบันกรรมฐานศึกษา สมเด็จพระสังฆราช (อมฺพรมหาเถร) ซึ่งในกิจกรรมมีการเสวนาวิชาการเพื่อการพัฒนาปัญญาและจิตใจ มีการอบรมการปฏิบัติกรรมฐานโดยพระวิปัสนาจารย์จากทั่วประเทศ อันจะเป็นการส่งเสริมและเผยแผ่พระพุทธศานาให้กับพุทธศาสนิกชน หน่วยงานราชการและเอกชน สามารถเข้าร่วมกิจกรรมให้ข้อเสนอแนะ เพื่อพัฒนาการดำเนินการของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิต่อไป

วงจรคอร์รัปชัน

วงจรของคอร์รัปชัน วันที่ 9 ธันวาคม ของทุกปี ถือเป็นวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล ที่ประชาชนทั่วทุกประเทศต่างสนใจและให้ความสำคัญ องค์กรความโปร่งใสสากล (Transparency International – TI ก่อตั้งเมื่อปี ค.ศ. 1993) ได้ให้ความหมายของคำว่า “คอร์รัปชัน” (Corruption) ไว้หมายถึง การใช้อำนาจที่ได้มาโดยหน้าที่ในการหาประโยชน์ส่วนตัว หรือ การทุจริตโดยใช้หรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่ อำนาจและอิทธิพลที่ตนมีอยู่ เพื่อประโยชน์แก่ตนเองและหรือผู้อื่น โดยองค์กรความโปร่งใสสากลได้ระบุถึงกรณีต่างๆที่จะสามารถเกิดขึ้นในการคอร์รัปชันดังนี้ ปัญหาการคอร์รัปชัน (Corruption) เป็นปัญหาที่รุมแรงปัญหาหนึ่งของการเมือง การบริหารของไทย และยังคงเป็นปัญหาที่สืบเนื่องมาช้านาน จนถึงปัจจุบัน และนับวันยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น คอร์รัปชัน หมายถึง ความผิดที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา อันได้แก่ ความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ, ความผิดที่เกี่ยวกับความยุติธรรม และความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการบุติธรรม ซึ่งกล่าวง่ายๆ คือ การกระทำเพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรชอบได้ด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น เช่น 1. การเบียดบังทรัพย์ของทางราชการเป็นของตนหรือเป็นของผู้อื่นโดยทุจริต 2. ใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ 3. การบอกว่าจะให้ทรัพย์สิน หรือประโยชน์แก่เจ้าพนักงาน ประเภทของคอร์รัปชัน มีอยู่ 3 ประเภท ได้แก่ 1. การคอร์รัปชันขนาดเล็กน้อย (petty corruption) คือ การรับเงินที่ไม่ชอบธรรม หรือไม่ถูกต้องของเจ้าหน้าที่ของรัฐ เป็นจำนวนเงินที่ไม่มากนัก เพื่อดำเนินการบางอย่างให้กับผู้ที่ให้เงิน 2. การคอร์รัปชันขนาดใหญ่ (big […]